Page 43 - 8
P. 43
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 37
20101-5107 ปฏิบัติงานปรับแต่งเครื่องยนต์
20101-5108 ปฏิบัติงานจักรยานยนต์
20101-5109 ปฏิบัติงานประดับยนต์
้
3. ใหกำหนด ท-ป-น หรือเวลาเรียนภาคทฤษฎีต่อสัปดาห-เวลาเรียนภาคปฏิบัติต่อสัปดาห- ์
์
จำนวนหน่วยกิตของรายวิชา ตามลักษณะงานที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามเกณฑ์ที่
กำหนด คือ การฝึกอาชีพไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมงต่อภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีค่า
เท่ากับ 1 หน่วยกิต และหากจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาคทฤษฎีด้วย โดยอาจจะเป็นการให้ความรู้ก่อน
การฝึกปฏิบัติงาน (ทฤษฎีหัวงาน) หรือการสรุปองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนรู้ประจำวัน/สัปดาห์ กำหนดให 1
้
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่จะต้องพิจารณาร่วมกัน เช่น
ตัวอย่าง รายวิชาทวิภาคีในระดับ ปวช. ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างยนต์ สาขา
งานยานยนต์
รหัสวิชา ชื่อวิชา ท-ป-น
20101-5101 ปฏิบัติงานยานยนต์ 1 (งาน...) 1-6-3
20101-5102 ปฏิบัติงานยานยนต์ 2 (งาน...) 1-6-3
20101-5103 ปฏิบัติงานยานยนต์ 3 (งาน...) 0-9-3
20101-5104 ปฏิบัติงานยานยนต์ 4 (งาน...) 0-9-3
20101-5105 ปฏิบัติงานยานยนต์ 5 (งาน...) 0-9-3
20101-5106 ปฏิบัติงานยานยนต์ 6 (งาน...) 0-9-3
4. ให้เขียนจุดประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวิชาให้สอดคล้องกัน ครอบคลุมพฤติกรรม
การเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ (พุทธิพิสัย) ทักษะ (ทักษะพิสัย) เจตคติและกิจนิสัย หรือพฤติกรรมลักษณะ
ิ
นิสัย (จิตพิสัย) แม้ว่าในการฝึกอาชีพจะเน้นทักษะปฏิบัติ แต่ “สมรรถนะ” ในการทำงานนั้นเกดจากการ
ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนั้นนอกจากทักษะในการปฏิบัติงานแล้ว
ทักษะทางปัญญา ไม่ว่าการคิด วิเคราะห์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ฯลฯ ก็มีความสำคัญต่อการ
ปฏิบัติและพัฒนางานที่รับผิดชอบ ผู้เรียนจึงต้องมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นจากการเรียนในสถานศึกษา
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ในขณะที่องค์ความรู้ในบางเรื่องก็สามารถเกิดขึ้นจากการได้ลงมือ
ปฏิบัติด้วยตนเองในสภาพจริงของการทำงานในสถานประกอบการ