Page 42 - 8
P. 42
36 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี
20101-5105 ปฏิบัติงานยานยนต์ 5
20101-5106 ปฏิบัติงานยานยนต์ 6
ตัวอย่างที่ 2 กำหนดชื่อวิชาโดยใช้ชื่องานวงเล็บไว้ท้ายชื่อวิชา มีข้อดีคือสามารถแสดงให้
ทราบว่าผู้สำเร็จการศึกษาได้ผ่านการฝึกอาชีพในงานใดบ้าง และมีสมรรถนะในสาขางานที่เรียนในเรื่องใดบ้าง
นอกจากนี้ผู้เรียนในกลุ่มสาขางานเดียวกันที่จำเป็นต้องแยกไปฝึกอาชีพต่างสถานประกอบการซึ่งมีขนาดและ
ลักษณะงานต่างกัน ก็ยังสามารถระบุชื่องานในวงเล็บที่ต่างกันออกไปได้ แต่ยังคงใช้ชื่อวิชาและรหัสวิชา
เดียวกัน หรือทำเพิ่มเติมให้ครอบคลุมลักษณะงานของสาขาวิชา แล้วให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกลงทะเบียน
เรียนให้สอดคล้องกับงานของสถานประกอบการที่ไปฝึกอาชีพก็ได้
20101-5101 ปฏิบัติงานยานยนต์ 1 (งานเครื่องยนต์)
20101-5102 ปฏิบัติงานยานยนต์ 2 (งานเครื่องล่างรถยนต์)
20101-5103 ปฏิบัติงานยานยนต์ 3 (งานปรับอากาศรถยนต์)
20101-5104 ปฏิบัติงานยานยนต์ 4 (งานบำรุงรักษารถยนต์)
20101-5105 ปฏิบัติงานยานยนต์ 5 (งานอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์)
20101-5106 ปฏิบัติงานยานยนต์ 6 (งานบริการรถยนต์)
20101-5101 ปฏิบัติงานยานยนต์ 1 (งานเครื่องยนต์เล็ก)
20101-5102 ปฏิบัติงานยานยนต์ 2 (งานจักรยานยนต์)
20101-5103 ปฏิบัติงานยานยนต์ 3 (งานประดับยนต์)
ตัวอย่างที่ 3 กำหนดชื่อวิชาโดยใช้ชื่องาน มีข้อดีคือสามารถแสดงให้ทราบว่าผู้สำเร็จ
การศึกษาได้ผ่านการฝึกอาชีพในงานใดบ้าง และมีสมรรถนะในสาขางานที่เรียนในเรื่องใดบ้าง การกำหนดชื่องาน
แบบนี้เหมาะกับลักษณะงานอาชีพที่เป็นมาตรฐานสากลหรือมีมาตรฐานวิชาชีพกำหนดไว้
ส่วนข้อจำกัดก็คือ ผู้เรียนในกลุ่มสาขางานเดียวกันที่แยกไปฝึกอาชีพในสถานประกอบการที่มี
ขนาดและลักษณะงานต่างกันจะไม่สามารถใช้ชื่อวิชาเดียวกัน ต้องจัดทำรายวิชาและรายละเอียดรายวิชาเพิ่ม
ตามลักษณะงานของสถานประกอบที่ร่วมมือจัดการศึกษา โดยใช้รหัสรายวิชาเรียงลำดับต่อกันไป และการจัด
แผนการเรียนก็ต้องเป็นแผนการเรียนเฉพาะกลุ่มผู้เรียน
20101-5101 ปฏิบัติงานเครื่องยนต์เล็ก
20101-5102 ปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์
20101-5103 ปฏิบัติงานระบบฉีดเชื้อเพลิงควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์
20101-5104 ปฏิบัติงานปรับอากาศรถยนต์
20101-5105 ปฏิบัติงานบำรุงรักษารถยนต์
20101-5106 ปฏิบัติงานบริการรถยนต์