Page 33 - 1
P. 33
1 การจัดการอาชีวศึกษา 27
• การพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาและการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
• สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันที่มีความร่วมมือในการจัดการศึกษากับสถาน
ประกอบการ สามารถจัดได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี และ
การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพในการศึกษาในระบบ ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ
ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
• สถานศึกษาต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานท ครุภัณฑ์ ครูและบุคลากร
ี่
ทางการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละลักษณะการ
ผลิตและการพัฒนาผู้เรียน
• สถานศึกษาต้องกำหนดวิธีการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาและการจัดการ
เรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน และระดับคุณวุฒิ
ของแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
• สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ โดยให้ผู้เรียนจัดทำ
โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียน
• สถานศึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อส่งเสริมสมรรถนะแกนกลางและ
ระดับ ปวช. สมรรถนะวิชาชีพ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัย ปลูกฝังจิตสำนึก
และ และจิตอาสา เสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลกในด้านการรักชาติ เทิดทูน
ระดับ ปวส.
พระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ ส่งเสริมการดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง และส่งเสริมการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการบริการวิชาการ วิชาชพ
ี
หรือทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
• สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
• การจัดการศึกษา การประเมินผลการเรียน และการสำเร็จการศึกษา
(1) การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร ให้เป็นไปตามระเบียบ
กระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตาม
หลักสูตร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(2) การสำเร็จการศึกษา ต้องได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กำหนด
ไว้ในหลักสูตร ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนน
และผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ