Page 46 - 2
P. 46
38 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
2.2 ปฏิบัติอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
2.3 ปฏิบัติอย่างหลากหลาย โดยวิธีใดบ้าง
2.4 จัดให้มีความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานกับการปฏิบัติในงาน
2.5 มุ่งเน้นการประเมิน
2.6 สามารถปรับให้เป็นปัจจุบัน
3. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence) เพื่อมั่นใจว่าการปฏิบัติงานนั้นมีความคงเส้นคงวาและ
เป็นความสามารถที่ยั่งยืน หลักฐานที่ต้องการมี 2 ลักษณะ ได้แก่
3.1 หลักฐานการปฏิบัติงาน สามารถระบุโดยพิจารณาจากหลักฐานกระบวนการว่า
ขั้นตอนใดที่จะใช้เป็นหลักฐานการประเมิน และหลักฐานผลงานหรือผลผลิตว่าจะอยู่ในรูปแบบใด
ลักษณะใด
3.2 หลักฐานด้านความรู้ สามารถระบุได้โดยพิจารณาแต่ละขั้นตอนว่าจะต้องมีความรู้
อะไร อย่างไร จึงจะทำงานได้ตามมาตรฐาน อาจเขียนในรูปของเนื้อหาสาระที่เป็นหัวข้อเรื่อง โดย
รายละเอียดของความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีหรือแนวคิดทางทฤษฎี ความมุ่งหมาย หลักการและวิธีการที่
สนับสนุนงานนั้นในแต่ละขั้นตอนหรือทั้งสมรรถนะย่อย หรืออาจเขียนในรูปจุดประสงค์การเรียนรู้ก็ได้
แต่ทั้งระบบต้องเขียนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตลอดทุกมาตรฐาน ในการประเมินอาจใช้การสอบ
สัมภาษณ์ทั้งในขณะปฏิบัติงานและนอกเวลาปฏิบัติงาน แบบทดสอบ และคำถามอัตนัย
4. แนวทางการประเมิน (Assessment Guidance) เป็นข้อแสดงรายละเอียดทั่วไปของ
วิธีการประเมิน และความแตกต่างของข้อเปรียบเทียบของชุดหลักฐาน หรืออาจเป็นข้อกำหนดทั่วไปของวิธี
การประเมิน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบแนวทางในขั้นต้น ส่วนรายละเอียดอาจแยกไว้ในคู่มือการประเมิน
ตัวอย่างการวิเคราะห์สมรรถนะย่อย/ข้อกำหนดมอดูล
หน้าที่หลัก (Key Function)
7011 บำรุงรักษาตัวถังยานยนต์
หน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence)
7011.1 ทำความสะอาดตัวถังภายในและภายนอก
เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
1. เครื่องมือ อุปกรณ์ ล้าง ปรับตั้ง ตรวจสภาพ และคู่มือการให้บริการยานยนต์เตรียมมาครบตามข้อกำหนด
2. ตัวถังภายนอกและภายในยานยนต์ได้รับการล้าง เช็ด แห้ง สะอาดและตรวจสอบสภาพชิ้นส่วน ต่าง ๆ ให้
อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามขั้นตอนตามข้อกำหนด
3. ล้อและยางทุกล้อ น้ำล้างกระจกได้รับการตรวจสอบและเติมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามข้อกำหนด