Page 43 - 2
P. 43
2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 35
3.1 เขียนในรูปของ “กริยา-กรรม-เงื่อนไข”
3.2 ข้อความแสดงหน้าที่หลักต้องกระชับ ชัดเจนและครอบคลุมหน่วยสมรรถนะในระดับชั้น
ที่ถัดลงไปจากหน้าที่หลักนั้น ๆ
3.3 หน้าที่หลักแต่ละรายการในแต่ละบทบาทหลักต้องมีระดับความสำคัญเท่ากัน โดยอาจ
เป็นอิสระต่อกันหรือเป็นกระบวนการที่เรียงลำดับต่อเนื่องกัน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องสนองข้อกำหนดของ
บทบาทหลักที่จำแนกออกมา
3.4 หน้าที่หลักแต่ละรายการจะต้องสามารถแยกย่อยออกเป็นหน่วยสมรรถนะ ซึ่งเป็น
ระดับชั้นที่ถัดลงไปได้มากกว่า 1 รายการ
4. หน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence)
หน่วยสมรรถนะเกิดจากการแยกย่อยหน้าที่หลักเป็นระดับชั้นถัดลงมา หรือเป็นการรวม
หน่วยย่อยหรือสมรรถนะย่อยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน หน่วยสมรรถนะเป็นส่วนสำคัญที่มีคุณค่า
และอิสระในการจ้างงาน การรับรองผลหรือการเทียบโอน มีข้อพิจารณาในการเขียนดังนี้
4.1 เขียนในรูปของ “กริยา-กรรม-เงื่อนไข”
4.2 ข้อความแสดงหน่วยสมรรถนะต้องกระชับ ชัดเจนและครอบคลุมสมรรถนะย่อย
ในระดับชั้นที่ถัดลงไปจากหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ
4.3 หน่วยสมรรถนะแต่ละรายการในแต่ละหน้าที่หลักต้องมีระดับความสำคัญเท่ากัน โดย
อาจเป็นอิสระต่อกันหรือเป็นกระบวนการที่เรียงลำดับต่อเนื่องกัน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องสนองข้อกำหนด
ของหน้าที่หลักที่จำแนกออกมา
4.4 หน่วยสมรรถนะแต่ละรายการต้องสามารถทำสำเร็จได้ด้วยรายบุคคล โดยอาจจะ
ทำงานคนเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
4.5 หน่วยสมรรถนะแต่ละรายการจะต้องสามารถแยกย่อยออกเป็นหน่วยสมรรถนะ ซึ่ง
เป็นระดับชั้นที่ถัดลงไปได้มากกว่า 1 รายการ
5. สมรรถนะย่อย (Element of Competence)
สมรรถนะย่อยเป็นลำดับชั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์หน้าที่ โดยแยกย่อยมาจากหน่วย
สมรรถนะ สมรรถนะย่อยประกอบด้วยข้อความหรือข้อกำหนดซึ่งแต่ละบุคคลต้องทำได้ มีข้อพิจารณาใน
การเขียนดังนี้
5.1 เขียนในรูปของ “กริยา-กรรม-เงื่อนไข”
5.2 ข้อความแสดงสมรรถนะย่อยต้องกระชับ ชัดเจน สามารถทำสำเร็จได้ด้วยรายบุคคล