Page 42 - 2
P. 42
34 2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ
1. ความมุ่งหมายหลัก (Key Purpose)
ความมุ่งหมายหลักเป็นสิ่งแรกที่ผู้จัดทำมาตรฐานอาชีพจะต้องกำหนดเพื่อให้เห็นเป็น
รูปธรรม มีข้อพิจารณาในการเขียนดังนี้
1.1 ความมุ่งหมายหลักจะต้องแสดงภาพรวมของอาชีพที่จะจัดทำมาตรฐานอาชีพ
1.2 ข้อความแสดงความมุ่งหมายหลักต้องกระชับ ชัดเจนและครอบคลุมบทบาทหลัก
ทุกรายการ
1.3 รูปแบบของการเขียน คือ “กริยา-กรรม-เงื่อนไข”
กริยา คือ คำที่แสดงการกระทำ ซึ่งแสดงสมรรถนะในการปฏิบัติ การผลิตหรือ
บริการ
กรรม คือ สิ่งที่ถูกกระทำ อาจเป็นบุคคล สิ่งของ ผลิตภัณฑ์หรือข้อมูลเพื่อการ
ตัดสินใจ
เงื่อนไข คือ บริบท สถานการณ์ ใช้ระบุการดำเนินการให้เกิดสมรรถนะที่ชัดเจน
1.4 ความมุ่งหมายหลักจะต้องสามารถแยกย่อยออกเป็นบทบาทหลัก ซึ่งเป็นระดับชั้นที่
ถัดลงไปได้มากกว่า 1 รายการ
2. บทบาทหลัก (Key Role)
บทบาทหลักเกิดจากการแยกย่อยความมุ่งหมายหลักเป็นระดับชั้นถัดลงมา หรือเป็นการ
รวมหน้าที่หลักต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน มีข้อพิจารณาในการเขียนดังนี้
2.1 เขียนในรูปของ “กริยา-กรรม-เงื่อนไข”
2.2 ข้อความแสดงบทบาทหลักต้องกระชับ ชัดเจนและครอบคลุมหน้าที่หลักทุกรายการ
2.3 บทบาทหลักแต่ละรายการต้องมีระดับความสำคัญเท่ากัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นอิสระ
ต่อกัน แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องสนองข้อกำหนดของความมุ่งหมายหลัก
2.4 การจัดลำดับของบทบาทหลักแต่ละรายการ จะเรียงจากงานอาชีพที่เป็นต้นน้ำไปหา
ปลายน้ำ หรือเรียงลำดับตามลักษณะงานอาชีพที่ใช้ความรู้และทักษะจากง่ายไปสู่ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน
2.5 บทบาทหลักแต่ละรายการจะต้องสามารถแยกย่อยออกเป็นหน้าที่หลัก ซึ่งเป็น
ระดับชั้นที่ถัดลงไปได้มากกว่า 1 รายการ
3. บทบาทหลักและหน้าที่หลัก (Key Role and Key Function)
หน้าที่หลักเกิดจากการแยกย่อยบทบาทหลักเป็นระดับชั้นถัดลงมา หรือเป็นการรวมหน่วย
สมรรถนะต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน มีข้อพิจารณาในการเขียนดังนี้