Page 18 - 7
P. 18
7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา 9
้
ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้เรียนและเตรียมชุดคำถามล่วงหน้า เพื่อใหการสัมภาษณ์เจาะตรงประเด็น
ุ่
และได้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น โดยขณะสัมภาษณ์ครูผู้สอนควรใช้วาจา ท่าทาง น้ำเสียงที่อบอนเป็นกันเอง
้
้
เพื่อใหผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและมีแนวโน้มจะใหข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ควรสัมภาษณ์ผู้เรยนด้วยคำถาม
ี
ที่เข้าใจง่าย และอาจใช้การสัมภาษณ์บุคคลใกล้ชิดผู้เรียนร่วมด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนเพิ่มขึ้น
4.3 การตรวจงาน เป็นการวัดและประเมินผลที่เน้นการนำผลการประเมินไปใช้ทันที
ใน 2 ลักษณะ คือ เพื่อการช่วยเหลือผู้เรียนและเพื่อช่วยปรับปรุงการสอนของครูผู้สอน จึงเป็นการ
ประเมินที่ควรดำเนินการตลอดเวลา และควรมีลักษณะที่ครูผู้สอนสามารถประเมินพฤติกรรมระดับสูง
ของผู้เรียนได้ เช่น การตรวจแบบฝึกหัด ผลงานภาคปฏิบัติ โครงการ/โครงงานต่าง ๆ เป็นต้น
4.4 การรายงานตนเอง เป็นการใหผู้เรียนเขียนบรรยายหรือตอบคำถามสั้น ๆ หรือตอบ
้
แบบสอบถามที่ครูผู้สอนสร้างขึ้น เพื่อสะท้อนถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งความรู้ ความเข้าใจ วิธีคิด วิธี
ทำงาน ความพอใจในผลงาน ความต้องการพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น
็
4.5 การใช้บันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นการรวบรวมข้อมูลความคิดเหนที่เกี่ยวข้องกับ
ตัวผู้เรียน ผลงานผู้เรียน โดยเฉพาะความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จาก
เพื่อน ครูผู้สอน หรือผู้ปกครอง เป็นต้น
4.6 การใช้ข้อสอบแบบเน้นการปฏิบัติจริง คือการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดสิ่งที่ผู้เรียนได้
ปฏิบัติจริง ซึ่งข้อสอบนั้นจะต้องมีความหมายต่อผู้เรียน เลียนแบบสภาพความเป็นจริง ครอบคลุม
้
ี
ความสามารถของผู้เรยนและเนื้อหาตามหลักสูตร เน้นใหมีหลายคำตอบและหลายวิธีหาคำตอบ และมี
เกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน
4.7 การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ใช้สะสมผลงานของผู้เรียน
อย่างมีจุดประสงค์ อาจเป็นแฟ้ม กล่อง แผ่นดิสก์หรืออลบั้มก็ได้ แฟ้มสะสมผลงานนี้จะเป็นหลักฐาน
ั
สะท้อนให้เห็นถึงความพยายาม ความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
4.8 เครื่องมือวินิจฉัยอื่น ๆ
5. ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่
5.1 ผู้เรียน
5.2 ครูผู้สอน
5.3 อาจารย์ที่ปรึกษา
5.4 ผู้ปกครอง และอื่น ๆ
6. ระยะเวลาที่ประเมิน สามารถดำเนินการประเมินได้ในช่วงต่าง ๆ ดังนี้
6.1 ระหว่างผู้เรียนทำกิจกรรม
6.2 ระหว่างการทำงานกลุ่มหรือโครงการ ในและนอกเวลาเรียน