Page 36 - 7
P. 36
7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา 27
ในการเรียนการสอนทางสายอาชีพ เกณฑ์การประเมินต้องกำหนดตามสมรรถนะงานของ
แต่ละสาขาอาชีพ โดยนำสมรรถนะงานมากำหนดมาตรฐานงานและกำหนดเกณฑ์ผ่าน ว่าต้องปฏิบัติงาน
มากน้อยเพียงใดจึงจะถือว่าผ่านการประเมินและเป็นไปตามที่สมรรถนะงานกำหนด งานในแต่ละอาชีพ
จะมีความแตกต่างกัน บางอาชีพเกณฑ์มาตรฐานงานต้องปฏิบัติได้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ ปกติสมรรถนะ
งานและมาตรฐานงานถูกกำหนดโดยเจ้าของอาชีพว่าผู้ปฏิบัติ (ผู้เรียน) ต้องปฏิบัติงานได้ปริมาณเท่าไร
จึงถือว่าผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานและเป็นไปตามสมรรถนะงาน การเรียนการสอนในชั้นเรียนผู้สอนจะ
เป็นผู้กำหนดเกณฑ์การประเมินเองในแต่ละรายวิชา แต่ในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพเกณฑ์การ
ประเมินจะกำหนดมาจากส่วนกลาง มีคณะกรรมการการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในระดับชาติเป็น
ผู้กำหนด การประเมินสมรรถนะจะมีเงื่อนไขในการประเมิน และต้องมีการกำหนดปริมาณงานให้ออกมา
ี
ในรูปของคะแนนเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสิน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดคะแนน ซึ่งเรยกว่า “เกณฑ์การให ้
คะแนน (Scoring Rubrics)”
• การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubrics)
้
การกำหนดเกณฑ์การใหคะแนนเป็นการกำหนดค่าตัวเลขใหกับผลการปฏิบัติงาน หรือ
้
ผลงาน หรือชิ้นงานของผู้ถูกประเมินแต่ละบุคคลที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่ต้องแยกแยะ
ใหเหนความแตกต่างที่ชัดเจนโดยใช้องค์ประกอบ คุณลักษณะสำคัญของชิ้นงานหรือสมรรถนะงานที่
็
้
ผู้เข้ารับการประเมินจำเป็นต้องรู้ ต้องมีสำหรับการปฏิบัติงาน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินต้องมีเกณฑ์การให้คะแนน ส่วนใหญ่เป็นแบบตรวจสอบรายการ
(Checklist) และแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) ซึ่งใช้พิจารณาคุณลักษณะหรือพฤติกรรม
การกระทำในการตัดสินความสามารถ
1. แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ใช้รายละเอียดขององค์ประกอบ คุณลักษณะสำคัญ
ของชิ้นงานหรือสมรรถนะงานในการกำหนดคะแนน
2. แบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) ใช้องค์ประกอบ คุณลักษณะสำคัญของชิ้นงาน
หรือสมรรถนะงานในการกำหนดคะแนน โดยใช้รายละเอยดขององค์ประกอบเป็นเงื่อนไขของการ
ี
ประเมิน ถ้าทำได้ครบทุกเงื่อนไขจะได้คะแนนเต็ม และคะแนนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง (ลดลงครั้งละ 1
คะแนนต่อ 1 เงื่อนไข) ตามเงื่อนไขที่กำหนด