Page 35 - 7
P. 35

26                                                     7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา


                      ด้านความรู้ เครื่องมือที่ใช้วัดจะเป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเองหรือแบบทดสอบมาตรฐาน

                                                                               ์
             (Standardized test) ที่วัดในระดับความรู้ความจำ ความเข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห ประเมินค่าและ
             ความคิดสร้างสรรค์ ในส่วนของการวัดความรู้ความจำ เครื่องมือทดสอบจะมีจำนวนข้อทดสอบไม่ควร
             เกินร้อยละ 20 ของจำนวนข้อทดสอบทั้งหมด แบบทดสอบมาตรฐานเป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นโดย

             ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในเรื่องที่ต้องการวัด และมีความสามารถในการสร้างแบบทดสอบ โดยมีการ
                    ์
             วิเคราะหคุณภาพของแบบทดสอบก่อนที่จะนำไปใช้จริงและจัดเก็บไว้ในคลังข้อสอบของแต่ละ
             สถานศึกษา แบบทดสอบมาตรฐานจะทำการปรับปรุงหรือสร้างใหม่ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
             เปลี่ยนเนื้อหาในบทเรียนของหลักสูตร


                      ด้านทักษะ  เป็นการทดสอบความสามารถในการปฏิบัติงาน  เครื่องมือที่ใช้วัดเป็นแบบ
                                                                       ี
             ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือทักษะกระบวนการคิดของผู้เรยน ในการวัดความสามารถ
             ในการปฏิบัติงาน ต้องมีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนของการทำงานตามลักษณะเงื่อนไขของงาน ถ้า

             เป็นทักษะกระบวนคิดต้องกำหนดขั้นตอนการให้คะแนนอย่างชัดเจน

                                                                                   ี
                      ด้านจิตพิสัย  เครื่องมือที่ใช้วัดเป็นแบบสังเกต แบบประเมินพฤติกรรมของผู้เรยนในการวัด
             ทำการวัดตลอดที่มีการเรียนการสอนระหว่างศึกษาในชั้นเรียนของแต่ละภาคเรียน ปีการศึกษา หรือ
             ตลอดจนกว่าจบหลักสูตร และนำผลที่ได้จากการวัดมาประเมินผลปลายภาคเรียน ปลายปีการศึกษา

             หรือเมื่อเรียนจบหลักสูตร

                      นำคะแนนที่ได้จากการวัดทั้ง 3 ด้านมารวมกัน จึงตัดสินตามเกณฑ์กำหนดว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
             โดยคิดคะแนนเป็นร้อยละ หรือเป็นเกรดทั่วไปมีอยู่ 4 ระดับอาจแบ่งย่อยเป็น 8 ระดับก็ได้


                                                   ี
                      สรุปได้ว่า การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรยนเป็นการวัดความสามารถในการเรยนรู้ของผู้เรียน
                                                                                 ี
             และนำความรู้มาประมวลและนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือนำไปใช้ในการทำงาน

                   •  การกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Rubric Assessment)

                      เป็นแนวทางการใหคะแนนการปฏิบัติงาน ผลงานหรือชิ้นงาน และภาระงานที่ผู้เรียนได้รับ
                                     ้
                                                           ี
                  ้
             มอบใหปฏิบัติ การกำหนดเกณฑ์การประเมิน ผู้สอนและผู้เรยนต้องรับรู้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย อาจกำหนด
             เกณฑ์การประเมินไปด้วยกันและเป็นข้อตกลงระหว่างผู้สอนและผู้เรียน หรือผู้สอนกำหนดและแจ้งให ้
             ผู้เรียนได้รับรู้และต้องยอมรับเกณฑ์การประเมินที่ผู้สอนกำหนด หรือจะเป็นเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
             มาแล้วจากส่วนกลาง เกณฑ์การประเมินยังใช้เป็นแนวทางในการสอนของผู้สอน เปรียบเสมือนเป็น
             จุดหมายของการเรียนการสอน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40