Page 33 - 7
P. 33
24 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา
3. ตัวบ่งชี้การปฏิบัติ (Performance Indicator):
3.1 คำนวณค่าตัวแปรสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ไปใช้ใน
สถานการณ์หรือปญหาที่กำหนด
ั
3.2 ดำเนินการทางสถิติในการสร้างตาราง แผนภูมิหรือกราฟ ตีความหมายจากแผนภูมิ หรือ
กราฟ และเลือกใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐานและฐานนิยมwได้เหมาะสมกับลักษณะงาน
3.3 ใช้เปอร์เซ็นไทล์วัดตำแหน่งที่ของข้อมูล และวัดการกระจายของข้อมูลในแบบต่าง ๆ ได้
4. เงื่อนไข/ขอบเขตการปฏิบัติ (Range of Variables):
- ตามแบบฝึกทักษะ /ใบงาน
หมายเหตุ สมรรถนะรายวิชาไม่ใช่งาน แต่เป็นความสามารถในการนำวิชาคณิตศาสตร์ไปใช้ในงานอาชีพ
จึงกำหนดเป็นลักษณะของตัวบ่งชี้ในความสามารถของการประยุกต์ใช้
• หลักฐานของการประเมินสรรถนะงาน
หลักฐานที่ได้มาจากการประเมินสมรรถนะงานได้จาก
1. หลักฐานจากการศึกษา ได้แก่
1.1 จากความรู้และความเข้าใจ ได้จากการทดสอบข้อเขียนหรือการสอบปากเปล่า
1.2 จากทักษะการปฏิบัติงาน ได้จากการสอบภาคปฏิบัติและการประเมินพฤติกรรม
2. หลักฐานจากการปฏิบติงาน ได้แก่
2.1 จากงานที่มอบให้ปฏิบัติ ได้จากสมุดบันทึกการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมผลงาน
2.2 จากงานที่ปฏิบัติจริง ได้จากชิ้นงาน ผลงานที่เกิดจากภาระงาน