Page 37 - 7
P. 37
28 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา
• ขั้นตอนการสร้างเกณฑ์การให้คะแนน
้
1. กำหนดประเด็นสำคัญในการตรวจใหคะแนน และจัดลำดับความสำคัญหรือน้ำหนักของ
แต่ละประเด็น
2. กำหนดระดับหรือคุณภาพที่ต้องการใหคะแนน เช่น 5 ระดับ ดีมาก (5 คะแนน) ดี (4
้
คะแนน) ปานกลาง (3 คะแนน) พอใช้ (2 คะแนน) และ ปรับปรุง (1 คะแนน)
3. กำหนดรูปแบบของ Rubric คือ แบบภาพรวม (Holistic Rubric) หรือแบบแยกส่วน
(Analytic Rubric)
4. ตรวจสอบโดยคณะผู้มีส่วนร่วมหรือผู้เชี่ยวชาญทางการวัดผล
5. ทดลองใช้เกณฑ์ในการตรวจผลงานที่มีมาตรฐาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่กำหนด
6. หาความสอดคล้องในการตรวจของกรรมการ 3 ท่าน ในลักษณะของ inter rater reliability
7. ปรับปรุงเกณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
8. กำหนดประเด็นและขอบข่ายการประเมินในแบบทดสอบอัตนัย (การเขียนตอบ)
• องค์ประกอบของเกณฑ์การให้คะแนน
1. มีอย่างน้อย 1 องค์ประกอบ 1 คุณลักษณะหรือ 1 สมรรถนะ ที่เป็นพื้นฐานในการตัดสิน
ผู้เรียน
2. มีความชัดเจนในรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ คุณลักษณะหรือสมรรถนะงาน
ั
3. การกำหนดค่าคะแนนจะต้องเป็นอตราส่วนกันในแต่ละองค์ประกอบ คุณลักษณะหรือ
สมรรถนะงาน
4. มีมาตรฐานและความแตกต่างที่เด่นชัดในแต่ละระดับของการให้คะแนน
5. การกำหนดเกณฑ์ต้องเป็นรูปธรรม แยกความสามารถได้ชัดเจน
• การกำหนดลักษณะขององค์ประกอบ
องค์ประกอบของการประเมินเป็นตัวกำหนดค่าของคะแนน การจัดลำดับความสำคัญของ
องค์ประกอบจึงเป็นตัวกำหนดใหคะแนนมีความแตกต่างกัน ถ้ามีองค์ประกอบของการประเมินมาก
้
คะแนนที่กำหนดจะมีค่าคะแนนมาก ฉะนั้นการจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบจึงเป็นตัวกำหนด
้
คะแนนของเกณฑ์การใหคะแนน การจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบและลักษณะของ
องค์ประกอบ แยกเป็นองค์ประกอบเชิงปริมาณและองค์ประกอบเชิงคุณภาพ ดังนี้