Page 44 - 7
P. 44
7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา 35
• เครื่องมือประเมินมาตรฐานวชาชีพ
ิ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นเครองมือที่วัดความสามารถของผู้เขา
้
ื่
รับการประเมินได้ครบทุกพฤติกรรม ทั้งด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรมลักษณะนิสัย จึงต้องมีการ
ทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายตามลักษณะของวิชาชีพแต่ละประเภท
วิชา สาขาวิชาและสาขางาน โดยจะเป็นการประเมินในลักษณะการประมวลความรู้ที่เรียนรู้มาทั้งหมด
ในภาพรวมตามระดับคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ ดังนี้
1. การทดสอบภาคทฤษฎี เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินควรเป็นเครื่องมือที่วัดความ-
สามารถในแต่ละระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการประเมินได้อย่างชัดเจน ซึ่งประกอบด้วย
ความรู้-ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประมาณค่าและการคิดสร้างสรรค์ เครื่องมือ
ที่นิยมใช้ ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ และแบบทดสอบความเรียง
เครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพภาคทฤษฎีนี้ ควรวัดในระดับพฤติกรรมการเรียนรู้
้
ไม่ต่ำกว่าระดับความเข้าใจ และตัวเครื่องมือต้องสามารถเร้าใหผู้เข้ารับการประเมินใช้ความคิดในการ
ตอบข้อปัญหาให้มากที่สุด
2. การทดสอบภาคปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินควรเป็นเครื่องมือที่วัดความ-
สามารถหรือทักษะในการทำงานของผู้เข้ารับการประเมิน ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ
ประเมินการปฏิบัติงาน โดยมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินและเกณฑ์ผ่านการประเมินไว้ชัดเจน ทั้งนี้
เครื่องมือประเมินภาคปฏิบัติจะมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางาน
เครื่องมือที่ใช้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพภาคปฏิบัติ ควรวัดในระดับพฤติกรรมการเรียนรู้
ไม่ต่ำกว่าระดับการนำไปใช้ ผู้เข้ารับการประเมินสามารถรู้ล่วงหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นความลับ
ื
• การสร้างเครื่องมอประเมินด้านความรู้ (ภาคทฤษฎี)
การสร้างเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพในหลักสูตรแต่ละระดับ จะสอดคล้องกับ
มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของแต่ละประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางาน ซึ่งประกอบด้วยความรู้
ทักษะ และความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ การสร้างเครื่องมือควรคำนึงถึงหลักการ
้
วัดผลการศึกษา เพื่อใหได้เครื่องมือที่สามารถวัดได้จริงและยุติธรรมสำหรับผู้รับการประเมิน และเพื่อ
ให้ผลคะแนนที่ได้จากการประเมินถูกต้องเชื่อถือได้ ซึ่งมีหลักการสำคัญที่ต้องพิจารณา ดังนี้
1. ลักษณะของแบบทดสอบ ควรมีลักษณะดังนี้
1.1 ความตรงหรือความเชื่อมั่น (Validity) เป็นลักษณะสำคัญที่สุดของแบบทดสอบ
อธิบายระดับคะแนนที่ได้จากการทดสอบโดยใช้เครื่องมือแต่ละประเภท ความตรงของคะแนนขึ้นอยู่กับ