Page 45 - 7
P. 45
36 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา
้
ความพอเพียงของตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนความรู้เป็นสำคัญ เครื่องมือที่ดีควรจะใหคะแนนตามงานที่เป็น
ตัวแทน เครื่องมือที่มีความตรงสูงจะต้องพัฒนาตามกระบวนการที่เป็นระบบของการพัฒนาเครื่องมือ
้
ได้แก่ นิยามขอบเขตงานที่จะวัดใหชัดเจน เตรียมการกำหนดงานเขียนข้อสอบ พิจารณาสร้างตัวแทน
ข้อกระทงหรืองานในแบบทดสอบที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะที่เป็นมาตรฐานวิชาชีพ เมื่อใช้เครื่องมือวัดนั้น
ทดสอบผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ผลการประเมินจึงจะเชื่อถือได้จริง
1.2 ความเที่ยงหรือความเที่ยงตรง (Reliability) เป็นความคงที่หรือความคงเส้นคงวา
ในการวัดของเครื่องมือวัด ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนได้คะแนนจากการทดสอบของเครื่องมือชุดหนึ่ง 80
คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน หมายความว่า 80 เป็นตัวแทนการปฏิบัติการสอบได้ถูกต้องของ
ผู้เรียน ถ้าเครื่องมือมีความเที่ยงสูงเมื่อทดสอบผู้เรียนด้วยเครองมือชุดเดิมในระยะเวลาต่างกันพอสมควร
ื่
หรือนำเครื่องมือที่มีลักษณะคู่ขนานมีความตรงเท่าเทียมกันมาทดสอบผู้เรียนคนเดิมหรือกลุ่มเดิม คาดว่า
ผลการสอบวัดของผู้เรียนจะใกล้เคียงกัน ความคงเส้นคงวาในการวัดของเครื่องมือต้องชี้ให้เห็นว่าคะแนน
ที่เป็นผลการวัดเป็นอิสระจากความคลาดเคลื่อนในการวัด ความเที่ยงจึงสามารถเชื่อถือได้
้
1.3 ความเป็นปรนัย (Objectivity) เครื่องมือที่ดีควรมีความเป็นปรนัย เพื่อใหผู้เรียน
หรือผู้เข้ารับการประเมินทุกคนได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกัน คะแนนผลการทดสอบแสดง
ความสามารถของแต่ละคนถูกต้อง ชัดเจน เปรียบเทียบกันได้ ดังนั้นการสร้างเครื่องมือจะต้องกำหนด
โจทย์คำถามหรือปัญหาที่ชัดเจน อานแล้วเข้าใจตรงกัน ผู้เรียนตอบคำถามหรือแก้ปัญหาตรงจุดที่
่
ต้องการ ไม่ใหคะแนนตามใจผู้ใหคะแนน ดังนั้นในการสร้างเครื่องมือแต่ละประเภทต้องมีการกำหนด
้
้
เกณฑ์และวิธีการให้คะแนนให้ชัดเจน
1.4 สามารถนำไปใช้ได้จริง (Practicality) เครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพนอกจาก
้
ใช้แล้วต้องใหผลที่มีความตรงและความเที่ยงที่น่าพอใจแล้ว กระบวนการประเมินต้องสามารถปฏิบัติได้
จริง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย กระบวนการบริหารการประเมินและการใหคะแนนต้องทำได้ง่าย
้
รวดเร็ว สามารถตีความผลคะแนนได้ถูกต้อง
2. ลักษณะของข้อคำถามหรือโจทย์
การสร้างข้อคำถามหรือโจทย์ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบภาคทฤษฏีหรือแบบทดสอบ
ภาคปฏิบัติจะมีลักษณะเดียวกัน คือต้องเป็นข้อคำถามที่สามารถวัดได้ตามจุดประสงค์หรือระดับ
พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการ ข้อคำถามหรือโจทย์ควรมีลักษณะ ดังนี้
้
2.1 แบบทดสอบวดความรู้-ความจำ เป็นการวัดความสามารถของผู้เขารับการประเมิน
ั
ที่ได้เรียนผ่านมาแล้วเพื่อทดสอบว่าจำอะไรได้บ้าง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ