Page 48 - 7
P. 48
7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา 39
1. การปฏิบัติงานที่แสดงออกด้วยการเขียน โดยใหผู้รับการประเมินแสดงออกด้วยการเขียน
้
บรรยายขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การเขียนลวดลาย หรือการออกแบบ
2. การวินิจฉัยปัญหาและกระบวนการปฏิบัติ โดยกำหนดสถานการณ์จำลอง หรือกำหนด
เป็นเรื่องจริงและให้ผู้เข้ารับการประเมินวินิจฉัยสิ่งที่เกิดขึ้น
3. การปฏิบัติงานตามที่กำหนด โดยกำหนดสิ่งต่าง ๆ ลงในใบงานหรือใบมอบหมายงานให
้
ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามคำสั่ง
้
4. ตัวอย่างงาน (ชิ้นงาน) โดยกำหนดชิ้นงาน (ภาระงาน) ใหผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติให ้
เกิดชิ้นงานและเขียนรายงานขั้นตอนการปฏิบัติงานประกอบชิ้นงาน
5. การปฏิบัติงานตามสถานการณ์จริง โดยกำหนดสถานการณ์จำลอง หรือเหตุการณ์ที่
้
ใกล้เคียงจริง หรือเหมือนจริง ใหผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามคำสั่งที่ระบุในใบงานหรือใบมอบหมาย
งาน
้
แบบทดสอบภาคปฏิบัติในลักษณะที่ 1 และ 2 เป็นลักษณะข้อคำถามที่ใหผู้เข้ารับการ
ประเมินเขียนตอบ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ แบ่งได้เป็น
1. แบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ
2. แบบทดสอบที่ให้อธิบายกระบวนการทำงานหรือแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ข้อคำถามของแบบทดสอบควรวัดความสามารถในระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ ขั้น
วิเคราะห สังเคราะห ประเมินค่าและหรือการคิดสร้างสรรค์ และต้องกำหนดคะแนนในแต่ละขั้นของ
์
์
การตรวจไว้ก่อน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตรวจให้คะแนนในแต่ละข้อของแบบทดสอบ
แบบทดสอบภาคปฏิบัติในลักษณะที่ 3, 4 และ 5 เป็นแบบทดสอบที่ใหลงมือปฏิบัติจริง
้
ฉะนั้นต้องมีแบบประเมินในการปฏิบัติงาน สำหรับใช้ในการประเมินความสามารถของผู้เข้ารับการ
ประเมิน แบบประเมินการปฏิบัติงานที่ใช้ในการประเมิน มีดังนี้
1. มาตรประมาณค่า (แบบกำหนดตัวเลข) เป็นแบบประเมินที่ใช้ตัวเลขเป็นตัวแทนในการวัด
ความสามารถของการทำงาน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
- การกำหนดคะแนนต้องมีความต่อเนื่องกัน เช่น 5 4 3 2 1 หรือ 0 (กรณีที่ไม่สามารถ
ปฏิบัติงานได้)
- กำหนดเกณฑ์การใหคะแนน (Rubric) ต้องแยกความแตกต่างของความสามารถของผู้ที่
้
ได้คะแนน 5 4 3 2 1 อย่างชัดเจน
2. แบบบันทึกพฤติกรรม เป็นแบบประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการ
ทดสอบ (กิจนิสัย) โดยกำหนดเป็นมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุดหรือต้องปรับปรุงสำหรับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ