Page 19 - 8
P. 19

ี
             8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค                                              13

                        6.6 การประเมินการประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ให  ้

             สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาดำเนินการเพื่อนำไปสู่
             การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 5 ปี

              • มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี


                      สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มีประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง

             มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เพื่อใช้เป็น

             กรอบแนวทางในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีใหเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิ
                                                   ้
             อาชีวศึกษาแห่งชาติและเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ เพื่อใหผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพ
                                                                       ้
             มาตรฐานเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางานที่เรียน โดยมีสาระสำคัญดังนี้


                      1. หลักการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษา
             หรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียน
             การสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาหรือสถาบันการ

             อาชีวศึกษาและเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อมุ่งเน้นผลิต
             ผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ มีคุณธรรม จริยธรรม

             จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสม ปฏิบัติงานได้จริง สามารถวางแผน สร้างและพัฒนางาน
             พัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

             มีสมรรถนะที่สามารถนำไปปฏิบัติงานหรือประกอบอาชีพอิสระได้ตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพและ
             มาตรฐานสมรรถนะของอาชีพ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

             แห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ

                      2. คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา ต้องครอบคลุมอย่างน้อย 4 ด้าน คือ ด้าน
             คุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านความสามารถในการ

             ประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาในแต่ละระดับ และตาม
             มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของประเภทวิชา สาขาวิชาและสาขางานที่เรียน โดยผู้เรียนในอาชีวศึกษา
             ระบบทวิภาคีจะมีคุณลักษณะพิเศษคือ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาที่ฝึกอาชีพได้ทันที


                      3. การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ต้องเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต
             รูปแบบและระยะเวลาที่กำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ และแต่ละสาขาวิชา
             โดยกำหนดระยะเวลาของการฝึกอาชีพในสถานประกอบการของแต่ละหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2 ภาคเรียน

             หรือ 1 ปีการศึกษา
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24