Page 23 - 8
P. 23
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 17
สภาพจริง สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนการฝึกอาชีพ โดย
คำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียนและสมรรถนะที่ต้องการ
11. การประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ใหทุกหลักสูตรกำหนด
้
ระบบการประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ ดังนี้
11.1 กำหนดสมรรถนะรายวิชา โดยปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือพัฒนารายวิชาใหม่ให ้
สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
11.2 การประกันคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา มีคุณวุฒิตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ
อาชีวศึกษาแต่ละระดับ และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน มีทักษะและ
ความสามารถในการกำกับดูแล มีความเชี่ยวชาญ ในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน สถานประกอบการ
มีความพึงพอใจในศักยภาพผู้สำเร็จการศึกษา
11.3 มีใบรับรองการฝึกอาชีพจากสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
ที่นักเรียนหรือนักศึกษาได้ไปฝึกอาชีพด้วย
• หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร และระเบียบการจัดการศึกษา
และการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร
สำหรับหลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 หลักเกณฑ์การ
ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย
การจัดการศึกษาและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรทั้งสองฉบับ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัด
การศึกษาระบบทวิภาคี มีสาระสำคัญดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอน เน้นการปฏิบัติจริง สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลาย
รูปแบบ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้สอดคล้องกับระดับคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ ดังนี้
1.1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ
วิธีการและการดำเนินงาน มีทักษะการปฏิบัติงานตามแบบแผนในขอบเขตสำคัญและบริบทต่าง ๆ ที่
สัมพันธ์กันซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานประจำ ให้คำแนะนำพื้นฐานที่ต้องใช้ในการตัดสินใจ วางแผนและแก้ไข
ปัญหาโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมในบางเรื่อง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานในบริบทใหม่ รวมทั้งรับผิดชอบต่อตนเอง
และผู้อื่น ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการ
ทำงาน