Page 26 - 8
P. 26
20 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี
3.2 การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียนรายวิชาฝึกงาน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ
รายวิชาอื่น ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตาม
หลักสูตรแต่ละฉบับ
4. การจัดโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให ้
ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า บูรณาการความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วย
ตนเองตามความถนัดและความสนใจ ตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือเรื่องที่จะศึกษา ทดลอง พัฒนาและหรือ
ประดิษฐ์คิดค้น โดยการวางแผน กำหนดขั้นตอนกระบวนการ ดำเนินการ ประเมินผล สรุปและจัดทำ
รายงานเพื่อนำเสนอ ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการนั้น ๆ
โดยมีแนวทางในการจัดโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ดังนี้
4.1 สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะ
วิชาชีพที่สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสาขาวิชา โดยระดับ ปวช. ควรจัดในภาคเรียนที่ 5 และหรือภาคเรียน
ที่ 6 ส่วนระดับ ปวส. ควรจัดในภาคเรียนที่ 3 และหรือภาคเรียนที่ 4 รวมจำนวน 4 หน่วยกิต ใช้เวลา
ไม่น้อยกว่า 216 ชั่วโมง
4.2 การจัดการเรียนการสอนรายวิชาโครงงาน ใหสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันจัด
้
ให้มีชั่วโมงเรียนจำนวน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับรายวิชาโครงงาน 4 หน่วยกิต และจัดให้มีชั่วโมงเรียน
2 ชั่วโมงต่อสัปดาหสำหรับรายวิชาโครงงาน 2 หน่วยกิต
์
4.3 การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียนรายวิชาโครงงาน ให้ปฏิบัติ
เช่นเดียวกับรายวิชาอื่น ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผล
การเรียนตามหลักสูตรแต่ละฉบับ
5. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะแกนกลางและหรือ
สมรรถนะวิชาชีพ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัย การต่อต้านความรุนแรง สารเสพติดและ
การทุจริต เสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ในด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์
ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ปลูกฝังจิตสำนึกและจิตอาสาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทำประโยชน์ต่อ
ชุมชนและท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ในการวางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมินผล และปรับปรุง
การทำงาน โดยมีแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ดังนี้