Page 31 - 8
P. 31
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 25
แนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค
ี
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิด
จากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ
หน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากำลังคนได้ตรงตามความต้องการของ
ตลาดแรงงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการศึกษา
การวัดและประเมินผลร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน จากสาระของกรอบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปแนวทางการจัดการอาชีวศึกษา
ระบบทวิภาคีสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน ได้ดังนี้
การเริ่มต้นจัดการ ต้องเริ่มต้นจากความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ
อาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี สถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
ครอบคลุมถึงการจัดหลักสูตร การวางแผนและเตรียมการ การจัด
ขอบเขตความร่วมมือ
ในการจัดการอาชีวศึกษา แผนการเรียน การจัดทำแผนการฝึกอาชีพและแผนการนิเทศ จัดการ
เรียน การฝึกอาชีพและการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ การ
ระบบทวิภาค ี วัดและการประเมินผล รวมทั้งการจัดทำเอกสารรับรองการฝึกอาชีพ
- มีบันทึกความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน กับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานของรัฐ
- มีสัญญาการฝึกอาชีพระหว่างสถานประกอบการกับผู้เรียน
- มีแผนการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ ตลอดระยะเวลาการฝึก
อาชีพที่กำหนดตามโครงสร้างหลักสูตรและแผนการเรียนของ
องค์ประกอบในการจัด สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
อาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี - มีการประเมินมาตรฐานการฝึกอาชีพตามข้อตกลง และตาม
แผนการฝึกอาชีพที่จัดทำร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ และ
สถานศึกษาหรือสถาบัน ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
- มีใบรับรองการฝึกอาชีพจากสถานประกอบการ
- มีวุฒิบัตรการศึกษาระบบทวิภาคีลงนามร่วมกัน 2 ฝ่าย คือ สถาน-
ประกอบการ และสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน
แผนภาพที่ 2 แสดงแนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี