Page 27 - 8
P. 27
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 21
5.1 สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทุกภาคเรียน
5.2 ในภาคเรียนที่มีการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ หรือฝึกอาชีพในสถานประกอบการ
้
สำหรับการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ใหผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดขึ้น
5.3 การประเมินผลกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่า
ด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแต่ละฉบับ
6. การจัดแผนการเรียน เป็นการกำหนดรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรที่จะดำเนินการ
เรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน โดยกำหนดใหจัดอัตราส่วนการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวด
้
วิชาสมรรถนะวิชาชีพ สำหรับระดับ ปวช. ประมาณ 20 : 80 และระดับ ปวส. ประมาณ 40 : 60 ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา โดยมีแนวทางในการจัดแผนการ
เรียนทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ดังนี้
้
ี
6.1 การจัดรายวิชาในแต่ละภาคเรียน ใหคำนึงถึงรายวิชาที่ต้องเรยนตามลำดับก่อน-หลัง
ความง่าย-ยากของรายวิชา ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของรายวิชา รวมทั้งรายวิชาที่สามารถ
บูรณาการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะของงาน โครงงานและหรือชิ้นงานในแต่ละภาคเรียน
6.2 การจัดรายวิชาบังคับ ในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง หมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ
ในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐานและกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ต้องจัดให ้
ครบตามที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร โดย
6.2.1 รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง ควรจัดกระจายทุกภาคเรียน
6.2.2 รายวิชาในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพพื้นฐาน โดยเฉพาะรายวิชาที่เป็นพื้นฐานของ
การเรียนวิชาชีพ ควรจัดในภาคเรียนที่ 1
6.2.3 รายวิชาในกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเฉพาะ ควรจัดให้เรียนก่อนรายวิชาในกลุ่ม
สมรรถนะวิชาชีพเลือกและรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี
6.3 การจัดรายวิชาชีพเลือกและรายวิชาเลือกเสรี ควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกเรียนตาม
ความถนัดและหรือความสนใจเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
6.4 การจัดรายวิชาทวิภาคี ที่นำไปเรียนและฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ
หน่วยงานของรัฐ โดยประสานงานร่วมกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อ
พิจารณากำหนดภาคเรียนที่จัดฝึกอาชีพ รวมทั้งกำหนดรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่ตรงกับลักษณะงาน
ของสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่นำไปร่วมฝึกอาชีพในภาคเรียนนั้น ๆ