Page 35 - 8
P. 35
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 29
การจัดทำรายละเอียดของรายวิชาทวิภาคี
เนื่องจากการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีพในกลุ่ม
สมรรถนะวิชาชีพเลือกร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการในสาขางานที่สอดคล้องสัมพันธ์
กับลักษณะงานของสถานประกอบการ จึงต้องร่วมกันพิจารณาจัดทำรายละเอียดของรายวิชา ทวิภาคีให ้
สอดคล้องกับลักษณะงาน เหมาะสมกับระดับหลักสูตร ตลอดจนสอดคล้องกับจุดประสงค์สาขาวิชา และ
มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน
• ขั้นตอนกระบวนการจัดทำรายละเอียดรายวิชาทวิภาคี
1. ศึกษาโครงสร้างหลักสูตร
ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี รายวิชาชีพที่นำไปจัดฝึกอาชีพในสถานประกอบการ
คือ กลุ่มรายวิชาทวิภาคี ในหมวดวิชาสมรรถนะวิชาชีพ กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือกหรือสาขางาน ซึ่ง
ในระดับ ปวช. กำหนดไว้จำนวนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต และในระดับ ปวส. จำนวนไม่น้อยกว่า 12
หน่วยกิต โดยรายวิชากลุ่มนี้จะมีลักษณะ คือ
- รหัสรายวิชา กำหนดเป็น “XXXXX-5101 ถึง XXXXX-5XXX”
- ชื่อรายวิชา ในระดับ ปวช. กำหนดเป็น “ปฏิบัติงาน ..(ชื่อสาขางาน/ชื่องานที่
ปฏิบัติ)..” และในระดับ ปวส. เป็น “งาน ..(ชื่อสาขางาน/ชื่องาน)..”
์
- ท-ป-น หรือเวลาเรียนภาคทฤษฎีต่อสัปดาห-เวลาเรียนภาคปฏิบัติต่อสัปดาห- ์
จำนวนหน่วยกิตของรายวิชา กำหนดเป็น *-*-*
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานประกอบการแต่ละแห่งที่ร่วมจัดการศึกษาระบบทวิภาคีใน
สาขาวิชาและสาขางานเดียวกัน อาจมีลักษณะงานแตกต่างกัน แต่ละงานใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติมาก
้
น้อยไม่เท่ากัน ซึ่งทำใหการคิดค่าหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถระบุให้ชัดเจนตายตัว
ในโครงสร้างหลักสูตรแกนกลาง สถานศึกษาและสถานประกอบการแต่ละแห่งต้องร่วมกันวิเคราะห ์
ลักษณะงานของสถานประกอบการและเวลาที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติงานนั้น ๆ ก่อน แล้วจึงนำมาคิดคำนวณ
และกำหนดหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาทวิภาคี ตามเกณฑ์การฝึกอาชีพไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมงต่อ
ภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต