Page 101 - 2
P. 101

2  การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ                                                93


                            3.5.3 การเขียนสมรรถนะรายวิชาด้านทักษะพิสัย มีแนวทางพิจารณาดังนี้

                                 1) ขึ้นต้นด้วยคำกริยาที่แสดงถึงสิ่งที่ผู้เรยนต้องปฏิบัติได้ในรายวิชานั้น ซึ่งจะ
                                                                ี
             เป็นการแจงรายละเอียดพฤติกรรมการเรียนรู้จากจุดประสงค์รายวิชาด้านทักษะพิสัย เพื่อนำไปสู่การ
             กำหนดเกณฑ์และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เช่น ถอดประกอบ

                                 2) จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาสาระภาคปฏิบัติรวมทั้งด้านจิตพิสัยใน
             คำอธิบายรายวิชาและสอดคล้องกับจุดประสงค์รายวิชาด้านทักษะพิสัย

                                 3) โดยทั่วไปจะระบุคำกริยาที่เป็นพฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล
             เพียงข้อละ 1 รายการ เช่น ติดตั้ง เขียน ออกแบบ ให้อาหาร ฯลฯ ยกเว้นพฤติกรรมที่กระทำต่อเนื่อง

             เช่น ถอดประกอบ เลือกใช้งาน ฯลฯ
                                 4) คำกริยาที่เลือกใช้ควรเป็นคำกริยาที่แสดงถึงพฤติกรรมในภาพรวมที่

             ผู้เรียนต้องปฏิบัติได้ในรายวิชา เช่น ปฏิบัติดูแลพืชหลังปลูกตามหลักการและกระบวนการ  ไม่จำเป็นต้อง
             ระบุรายละเอียดกระบวนการปฏิบัติดูแลพืชทุกขั้นตอน เช่น ให้น้ำพืชหลังปลูกตามหลักการและ
             กระบวนการ  ให้ปุ๋ยพืชหลังปลูกตามหลักการและกระบวนการ กำจัดศัตรูพืชหลังปลูกตามหลักการและ

             กระบวนการ รายละเอียดเหล่านี้จะอยู่ในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ในแผนการ
             จัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การกำหนดเกณฑ์และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูผู้สอน

                                 5) หลีกเลี่ยงคำกริยาที่เป็นคำที่กว้างเกินไป คำกริยาที่ไม่สามารถนำไปสู่การ
             วัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน เช่น ศึกษา ปฏิบัติ ดำเนินการ ใช้ ฯลฯ

                                 6) เงื่อนไขหรือสถานการณ์ของสมรรถนะถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่นำไปสู่
             การวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน สามารถใช้คำว่า “หลักการและกระบวนการ” โดยคำว่า

             “หลักการ” จะซ่อนองค์ความรู้ภาคทฤษฎีจากคำอธิบายรายวิชา เช่น ความหมาย ความสำคัญ หลัก
             ทฤษฎี แนวคิด หลักการทำงาน ฯลฯ ส่วนคำว่า “กระบวนการ” จะซ่อนองค์ความรู้ย่อยด้านทักษะ

             ปฏิบัติ เช่น การเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงาน การเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน
             และวิธีการ การตรวจสอบและปรับปรุงผลงาน การจัดการพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษาและ

             จัดเก็บเครื่องมือ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ครูผู้สอนสามารถนำไปกำหนดในการจัดการเรียนรู้และวัด
             ประเมินผลในหน่วยการเรียนรู้ของรายวิชาที่รับผิดชอบ
                                 7) คำที่ควรหลีกเลี่ยงในการเขียนเงื่อนไขหรือสถานการณ์ เช่น ถูกต้อง

             เหมาะสม มีคุณภาพ ฯลฯ นอกจากมีส่วนขยายให้ชัดเจนและนำไปกำหนดเกณฑ์ในการวัดประเมินผลได้
             เช่น ถูกต้องตามคู่มือ เหมาะสมกับชนิดของพืช มีคุณภาพตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย เป็นต้น

                                 8) สมรรถนะรายวิชาด้านทักษะพิสัยบางรายการอาจเป็นสมรรถนะที่สะท้อน
             ทักษะทางปัญญาที่สามารถวัดและประเมินผล ซึ่งโดยทั่วไปจะประเมินจากผลงานของผู้เรียน สำหรับ
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106