Page 29 - 2
P. 29
2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 21
1. อาชีพที่จะพัฒนาเป็นหลักสูตรสาขาวิชาและสาขางานนั้นต้องการผู้ที่สำเร็จการศึกษาจาก
การเรียนในระบบหรือจากการฝึกอบรม หากเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะเฉพาะเรื่องตามความ
ต้องการของผู้เรียนโดยใช้ระยะเวลาไม่นาน อาจพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แต่หากเป็นการเรียน
ในระบบก็ต้องพิจารณาว่าหลักสูตรวิชาชีพนั้นจะเริ่มต้นที่หลักสูตรระดับใดและสามารถพัฒนาต่อเนื่องไป
ได้ถึงระดับใดตามระยะเวลา องค์ประกอบและเงื่อนไขของหลักสูตรนั้น ตลอดจนความต้องการของงาน
อาชีพ
2. ผู้พัฒนาหลักสูตรมีอำนาจหรือได้รับมอบอำนาจตามกฎหมาย ข้อบังคับในการจัดการศึกษา
หรือฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าสู่อาชีพนั้นหรือไม่ เพราะบางอาชีพจะต้องได้รับอนุญาตจากองค์กรหรือสมาคม
วิชาชีพ
3. ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการหรือการจ้างงานในอาชีพนั้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตสามารถ
เชื่อถือได้ และมีปริมาณเพียงพอต่อการวางแผนและลงทุนผลิตกำลังคน
4. การกำหนดชื่อสาขาวิชาและสาขางานที่จะพัฒนาหลักสูตรต้องเป็นอาชีพที่มีอยู่จริงและ
หรือสามารถยกระดับของการประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้อาชีพนั้นต้องมีความต้องการกำลังคนที่มีความรู้
ทักษะอยู่ในระบบการจ้างงานอย่างแน่นอน และหรือมีมาตรฐานอาชีพเพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาเนื้อหา
สาระของหลักสูตรตามระดับคุณวุฒิ
5. ข้อมูลความต้องการของผู้ที่จะสมัครเข้าศึกษาหรือฝึกอบรมในสาขาวิชา สาขางานนั้นมี
จำนวนแน่นอนและเพียงพอ
6. ครู คณาจารย์มีคุณสมบัติ ความรู้ ความชำนาญและความพร้อมในสาขาอาชีพนั้น
7. สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ อาคารสถานที่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้
สนับสนุนการจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมในสาขาวิชาและสาขางานนั้นมีจำนวนเพียงพอ หรือสามารถจัดหา
มาได้ครบเมื่อจะเปิดหลักสูตร
8. หากมีการเปิดหลักสูตรสาขาวิชาอื่นที่ใกล้เคียงกัน จะยังคงมีจำนวนผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
หรือฝึกอบรมในสาขาวิชานี้เพียงพอต่อการเปิดสอน
ทั้งนี้ คณะทำงานอาจใช้แบบสำรวจหรือแบบสอบถามเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาสรุปเลือกอาชีพ
ที่จะพัฒนาหลักสูตร ดังตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพต่อไปนี้