Page 33 - 2
P. 33

2  การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ                                                25


                            2.2.2 กลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ได้แก่ กลุ่มรายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือก

             เรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อความเป็นเฉพาะทางในงานอาชีพ และหรือเพื่อเสริมสร้างความรู้
             ทักษะและความสามารถในการประยุกต์ใช้

                      ทั้งนี้ ความรู้ ทักษะและความสามารถในการประยุกต์ใช้จะต้องมีการทวนสอบกับมาตรฐาน

             อาชีพและผู้เชี่ยวชาญในงานอาชีพตามระดับคุณวุฒิ โดยสมรรถนะบังคับถือเป็นแก่นของสาขาวิชาซึ่ง
                                                                                      ี
             สะท้อนถึงรายวิชาบังคับที่ผู้เรียนต้องเรียน ส่วนสมรรถนะเลือกถือเป็นส่วนสะท้อนสาขางานที่ผู้เรยนเลือก
             เรียน อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรสามารถพิจารณาเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับ
             ระดับคุณวุฒิและความต้องการของงานอาชีพ  มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพนี้นอกจากจะใช้เป็นกรอบ

             ในการกำหนดรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาและสาขางานแล้ว ยังใช้เป็นกรอบในการกำหนด
             เกณฑ์และเครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพเพื่อรับรองคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาด้วย

                      ตัวอย่างกรอบการเขียนมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน หลักสูตร
             ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563
             จะได้นำเสนอในหัวข้อกระบวนการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะต่อไป



                   • การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา


                      ดังที่กล่าวแล้วว่า “หลักสูตร (Curriculum)” หมายถึง ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่
             กำหนดไว้ในสถานศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง  ส่วน “หลักสูตรอาชีวศึกษา (Vocational
             Education Curriculum)” หมายถึง หลักสูตรเพื่อการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามที่

             คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด  ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพจะต้อง
             เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ

             ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2562  ส่วนการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจะต้อง
             เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับ

             ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2562 โดยนำความรู้ในทางทฤษฎีอันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทย
             มาพัฒนาเพื่อใหผู้รับการศึกษามีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติและมีสมรรถนะจนสามารถนำไป
                          ้
             ประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพโดยอิสระได้

                      เนื่องจากการจัดการอาชีวศึกษามุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับ
             เทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมทั้งเพื่อยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นและสอดคล้องกับความ

             ต้องการของตลาดแรงงาน การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาจึงต้องยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพและความ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38