Page 40 - 2
P. 40

32                                                       2  การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ


                      สรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมุ่งที่จะให้ได้หลักสูตรที่ดีเหมาะสมตามสภาพแวดล้อม สังคมใน

             ยุคนั้น ๆ หลักสูตรที่ดีต้องพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติและทักษะความชำนาญ
             ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตร สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องศึกษาอย่างมากคือ ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งข้อมูล
             เหล่านี้จะเป็นรากฐานในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหา สาระและประสบการณ์การเรียนรู้

             ของหลักสูตรนั้น ๆ ตลอดจนการนำเอาหลักสูตรไปใช้ เมื่อนำหลักสูตรไปใช้แล้วก็ต้องมีการประเมินผล
             หลักสูตรเพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่องของหลักสูตรนั้น แล้วนำข้อมูลที่ได้ ไปปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม

             ต่อไป

                      สำหรับการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาที่เน้นสมรรถนะ จะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป


                   • การอนุมัติหลักสูตร


                      เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและหรือสถานศึกษาได้
             ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรใหม่ จะต้องนำเสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อพิจารณา

             ให้ความเห็นชอบ จากนั้นจึงดำเนินการอนุมัติโดยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกาศใช้
             โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาโดยสำนักงาน

             คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จัดทำฐานข้อมูลและเผยแพร่หลักสูตรต่อไป

                      สำหรับรายละเอียดของกระบวนการข้างต้น จะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

               มาตรฐานอาชีพกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ



                      การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะสำหรับการจัดการอาชีวศึกษานั้น ขั้นตอนสำคัญคือต้องนำ
             มาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะ (Occupational Standards /Competency Standards) ของ

             อาชีพที่เลือกว่าจะพัฒนาหลักสูตรมาเป็นแกนหรือเป็นหลักในการจัดทำ ในกรณีที่มีมาตรฐานอาชีพ
             อยู่แล้วจะต้องนำมาทวนสอบ (Verify) และปรับให้เข้ากับสภาพงานหรืออุตสาหกรรมท้องถิ่น หากยังไม่มี

             มาตรฐานอาชีพนั้นจะต้องกำหนดมาตรฐานอาชีพก่อน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์งานที่คนในอาชีพนั้น
             จะต้องปฏิบัติจริง ๆ  ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้การวิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) ซึ่งจะวิเคราะห ์

             ตั้งแต่ความมุ่งหมายหลัก บทบาทหลัก หน้าที่หลัก หน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อย รวมทั้งเกณฑ์การ
             ปฏิบัติงาน ขอบเขต หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่ต้องการ ตลอดจนแนวทางการ

             ประเมิน เพื่อสรุปเป็นมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะ แล้วนำข้อมูลนั้นมาแปลงเป็นหลักสูตร
             ฐานสมรรถนะ
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45