Page 28 - 4
P. 28

20                                                              4 การนำหลักสูตรไปใช้



                        - ผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง ๆ ของสถานศึกษา ให้สถานศึกษาคัดเลือกผู้เข้าเรียนตาม

             คุณสมบัติที่กำหนดตามความเหมาะสมของโครงการนั้น

                      4. การพ้นสภาพ การคืนสภาพ การพักการเรียนและการลาออกของผู้เรียน
                        การพ้นสภาพ การคืนสภาพ การพักการเรียนและการลาออกของนักเรียนระดับ

             ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้เป็นไปตามระเบียบ
             กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแต่ละระดับ

                      5. การสำเร็จการศึกษาของผู้เรียน

                        การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ
             นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้ถือตามเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย
             การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแต่ละระดับ ดังนี้

                        5.1 ได้รายวิชาและจำนวนหน่วยกิตสะสมในทุกหมวดวิชา ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ใน
             หลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด

                        5.2 ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
                        5.3 ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

                        5.4 ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด และ
             “ผ่าน” ทุกภาคเรียน


                   •  การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร


                      การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 และ
             หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563  ให้ดำเนินการดังนี้

                      1. การกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษา
                        สถานศึกษาสามารถกำหนดรูปแบบในการจัดการศึกษาตามหลักสูตร ได้ 3 รูปแบบ คือ

                        1.1 การศึกษาในระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษา
             อาชีวศึกษาหรือสถาบันเป็นหลัก โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา การวัด

             และการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                        1.2 การศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด
             จุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ

             การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความ
             ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33