Page 29 - 4
P. 29
4 การนำหลักสูตรไปใช้ 21
1.3 การศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่าง
สถานศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐในเรื่องการจัดหลักสูตร
การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือ
สถาบันและเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันสามารถจัดการศึกษาในหลายรูปแบบรวมกัน
ก็ได้เพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากำลังคน โดยสถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันนั้นต้องมุ่งเน้น
การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีเป็นสำคัญ
2. การลงทะเบียนเรียน
สถานศึกษาสามารถจัดให้ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียนที่กำหนด และนำผลการ
เรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ สามารถขอเทียบโอนผลการเรียน และขอเทียบโอนความรู้และ
ประสบการณ์ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบฯ ดังนี้
2.1 ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในแต่ละภาคเรียนด้วยตนเอง ตามวันและเวลาที่
สถานศึกษากำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา
2.2 ผู้เรียนลงทะเบียนรายวิชาได้ไม่เกินภาคเรียนละ 12 หน่วยกิต สำหรับการเรียนแบบ
เต็มเวลา และไม่เกินภาคเรียนละ 12 หน่วยกิต สำหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ส่วนการลงทะเบียน
รายวิชาในภาคเรียนฤดูร้อน ให้ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 12 หน่วยกิต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า
สถานศึกษา
2.3 สถานศึกษาอาจอนุญาตให้ผู้เรียนลงทะเบียนรายวิชาแตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นได้
หากมีเหตุผลและความจำเป็น แต่ต้องไม่กระทบต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
2.4 ผู้เรียนที่ขอโอนผลการเรียนรายวิชา ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่ขอ
สำเร็จการศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน
2.5 ผู้เรียนที่ขอเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาใน
สถานศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ละ
ประเภทวิชาและสาขาวิชา และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
2.6 ผู้เรียนสามารถขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม ขอถอนรายวิชา ขอลงทะเบียนเรียนซ้ำรายวิชาที่ได้
ระดับผลการเรียนต่ำกว่า 2.0 เพื่อประเมินปรับค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้น รวมทั้งขอ
ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาได้ โดยปฏิบัติตาม
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรนั้น