Page 44 - 4
P. 44

36                                                              4 การนำหลักสูตรไปใช้



                      5. ฝ่ายวิชาการเสนอผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติตารางสอบและคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบ

                      6. แจ้งประชาสัมพันธ์ตารางสอบ วัน เวลาและห้องสอบแก่แผนกวิชา ครูผู้สอน และผู้เรียน
                      ทั้งนี้ รายวิชาที่ไม่มีชั่วโมงทฤษฎี เช่น รายวิชาในหมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง สามารถจัด
             ลงตารางสอบรวมปลายภาคได้ตามความประสงค์ของครูผู้สอน


                   •  การจัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ


                      การฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยความร่วมมือ
             ระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับภาคการผลิตและหรือภาคบริการ หลังจากที่ผู้เรียนได้
             เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นในสถานศึกษาแล้วระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อเปิด

             โอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักร

             และอุปกรณ์ที่ทันสมัย รวมทั้งบรรยากาศการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การ
             จัดการ การเผชิญสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนทำได้ คิดเป็น ทำเป็นและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
             ตลอดจนเกิดความมั่นใจและเจตคติที่ดีในการทำงานและการประกอบอาชีพอิสระ โดยการจัดฝึก

             ประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ สถานศึกษาต้องดำเนินการดังนี้
                      1. จัดให้มีการฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพในรูปของการฝึกงานในสถานประกอบการ

             แหล่งวิทยาการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ โดยใช้เวลารวมไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง จำนวน 4 หน่วยกิต
                      2. เลือกจัดรายวิชาฝึกงาน 4 หน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง จำนวน 1 รายวิชา หรือ

             เลือกจัดรายวิชาฝึกงาน 2 หน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 160 ชั่วโมง จำนวน 2 รายวิชา รวม 4 หน่วยกิต ก็ได้
             โดยในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้จัดในภาคเรียนที่ 5 และหรือภาคเรียนที่ 6  ส่วนระดับ

             ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้จัดในภาคเรียนที่ 3 และหรือภาคเรียนที่ 4
                      3. กรณีสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องการเพิ่มพูนประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพ
             สามารถนำรายวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับลักษณะงานไปเรียนหรือฝึกในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ

             หรือหน่วยงานของรัฐในภาคเรียนที่จัดฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชาชีพได้
                      4. การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49