Page 45 - 4
P. 45

4 การนำหลักสูตรไปใช้                                                         37


                   •  การจัดโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ


                      โครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพเป็นรายวิชาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า บูรณาการ
             ความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจ

             ตั้งแต่การเลือกหัวข้อหรือเรื่องที่จะศึกษา ทดลอง พัฒนาและหรือประดิษฐ์คิดค้น โดยการวางแผน
             กำหนดขั้นตอนกระบวนการ ดำเนินการ ประเมินผล สรุปและจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอ ซึ่งอาจทำเป็น
             รายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการนั้น ๆ โดยการจัดทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะ

             วิชาชีพสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องดำเนินการ ดังนี้
                      1. จัดให้ผู้เรียนทำโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพที่สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสาขาวิชา

             สาขางานที่เรียน
                      2. เลือกจัดรายวิชาโครงงาน 4 หน่วยกิต ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 216 ชั่วโมง จำนวน 1 รายวิชา

             หรือเลือกจัดรายวิชาโครงงาน 2 หน่วยกิต ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 108 ชั่วโมง จำนวน 2 รายวิชา รวม 4
             หน่วยกิต ก็ได้ โดยในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้จัดในภาคเรียนที่ 5 และหรือภาคเรียนที่ 6 ส่วนใน

             ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้จัดในภาคเรียนที่ 3 และหรือภาคเรียนที่ 4
                      3. การจัดตารางสอน-ตารางเรียนรายวิชาโครงงาน 4 หน่วยกิต ให้จัดชั่วโมงเรียน 4 ชั่วโมง
             ต่อสัปดาห์ และจัดให้ผู้เรียนทำโครงงานนอกเวลา 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนการจัดตารางสอน-ตาราง

             เรียนรายวิชาโครงงาน 2 หน่วยกิต คือ โครงงาน 1 และโครงงาน 2 ให้จัดชั่วโมงเรียน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

             และจัดให้ผู้เรียนทำโครงงานนอกเวลา 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
                      4. การตัดสินผลการเรียนและให้ระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับรายวิชาอื่น


                   •  การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

                      กิจกรรมเสริมหลักสูตรมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะแกนกลางและหรือสมรรถนะ
             วิชาชีพ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัย การต่อต้านความรุนแรง สารเสพติดและการ

             ทุจริต เสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ในด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม
             การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ

             วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ปลูกฝังจิตสำนึกและจิตอาสาในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทำประโยชน์ต่อ
             ชุมชนและท้องถิ่น ดังนั้น สถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันต้องจัดดำเนินการดังนี้

                      1. จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทุกภาคเรียน ทั้งนี้
             โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการวางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมินผลและปรับปรุงการทำงาน

                      2. สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดขึ้น
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50