Page 40 - 8
P. 40
34 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค ี
ระดับ ปวส. สถานประกอบการ ระดับ ปวช.
งาน ..A.. ปฏิบัติงาน ... 1 (ชื่องาน)
งาน ... 1 (ชื่องาน) งาน ..B..
ปฏิบัติงาน ... 2 (ชื่องาน)
งาน ... 2 (ชื่องาน) งาน ..C..
ปฏิบัติงาน ... 3 (ชื่องาน)
งาน ..D..
ปฏิบัติงาน ... 4 (ชื่องาน)
งาน ... 3 (ชื่องาน) งาน ..E..
งาน ..F..
ปฏิบัติงาน ... 5 (ชื่องาน)
งาน ..G..
งาน ... 4 (ชื่องาน) ปฏิบัติงาน ... 6 (ชื่องาน)
งาน ..H..
แผนภาพที่ 4 แสดงตัวอย่างการวิเคราะห์งานของสถานประกอบการเพื่อกำหนดรายวิชาทวิภาคี
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่าในการวิเคราะห์ลักษณะงานในแต่ละหน่วยปฏิบัติงานของ
สถานประกอบการ ตั้งแต่งาน A ถึงงาน H จะมีบางงานที่เหมาะกับความรู้ ทักษะและวัยวุฒิของผู้เรียน
แต่ละระดับ เช่น ระดับ ปวส. คือ หน่วยปฏิบัติงาน B, C และ E ซึ่งสามารถนำมาจัดทำรายละเอียด
รายวิชาเป็นรายวิชาทวิภาคีลำดับที่ 1-3 ส่วนหน่วยปฏิบัติงาน G และ H ลักษณะงานอาจจะไม่ซับซ้อน
ไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติมาก ก็สามารถนำลักษณะงานของหน่วยปฏิบัติงานทั้งสอง
หน่วยมาจัดทำรายละเอียดรายวิชาเป็นรายวิชาทวิภาคีลำดับที่ 4
ส่วนการจัดทำรายละเอียดรายวิชาทวิภาคีในระดับ ปวช. แม้ว่าจะจัดฝึกอาชีพในสถาน-
ี
ประกอบการแห่งเดียวกัน ก็สามารถพิจารณางานที่เหมาะสมกับระดับ ปวช. และนำมากำหนดรายเอยด
รายวิชาได้เช่นกัน จากตัวอย่างจะเหนได้ว่างานในหน่วยปฏิบัติงาน A มีลักษณะเป็นงานพื้นฐานเบื้องต้น
็
ของสถานประกอบการ จึงกำหนดให้เฉพาะผู้เรียนระดับ ปวช. ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเป็นรายวิชาลำดับ
ที่ 1 ส่วนรายวิชาทวิภาคีลำดับที่ 2-6 ก็เป็นการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานย่อยบางงานในหน่วยปฏิบัติงาน
ที่เหมาะกับความรู้ ทักษะและวัยวุฒิของผู้เรียนในระดับ ปวช. ทั้งนี้ สถานศึกษาและสถานประกอบการ
สามารถร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนการฝึกอาชีพให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติงานบางงานซ้ำ ๆ จนเกิดความ
ชำนาญ ส่วนหน่วยปฏิบัติงานบางหน่วย เช่น หน่วยปฏิบัติงาน F อาจมีลักษณะงานที่ซับซ้อนเกินกว่า
ผู้เรียนระดับ ปวส. เป็นต้น