Page 39 - 8
P. 39
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 33
3. กำหนดรายละเอียดของรายวิชาทวิภาคี
รายละเอียดของแต่ละรายวิชาทวิภาคี ซึ่งประกอบด้วย รหัสวิชา ชื่อวิชา จุดประสงค์
รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คำอธิบายรายวิชา เวลาที่ใช้ในการฝึกและจำนวนหน่วยกิต ต้องดำเนินการใน
รูปคณะทำงานระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษาระบบทวิภาคี แล้วจึง
ดำเนินการขออนุมัติและแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบตามเกณฑ์การใช้หลักสูตร
แต่ละระดับ ก่อนที่จะนำไปจัดทำแผนการฝึกอาชีพ พร้อมกำหนดแนวการวัดและประเมินผลในแต่ละ
รายวิชาต่อไป การจัดทำรายละเอียดของรายวิชาทวิภาคีมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
1.1 สถานศึกษาร่วมวิเคราะห์ลักษณะงานของสถานประกอบการที่สอดคล้องกับ
สมรรถนะวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน รวมทั้งเหมาะกับระดับหลักสูตรของผู้เรียน
1.2 นำแต่ละงานมาพิจารณาจัดกลุ่มงาน โดยอาจกำหนดเป็นกลุ่มงานที่เป็นอิสระต่อกัน
จะฝึกอาชีพกลุ่มงานใดก่อนก็ได้ สามารถจัดฝึกปฏิบัติเป็นฐานหมุนเวียนกัน หากเป็นกลุ่มงานที่มีความ
ง่าย-ยากต่างกัน ก็จำเป็นต้องจัดกลุ่มงานใหเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรียงไปตามลำดับ
้
1.3 กำหนดรายการงานและเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในแต่ละกลุ่มงาน ซึ่ง
โดยทั่วไปควรกำหนดให้เหมาะสมและใกล้เคียงกัน กำหนดค่าหน่วยกิตของรายวิชาไม่มากหรือน้อย
เกินไป โดยใช้เกณฑ์การฝึกอาชีพไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมงต่อภาคเรียน รวมเวลาการวัดผล มีค่าเท่ากับ 1
หน่วยกิต ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นรายวิชา 3-4 หน่วยกิต เพื่อใหสะดวกต่อการจัดการศึกษาระบบ
้
ทวิภาคีที่ผู้เรียนต้องฝึกอาชีพในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา
1.4 กำหนดจุดประสงค์และสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในการฝึกอาชีพแต่ละ
รายวิชา โดยเน้นครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์
1.5 นำข้อมูลในข้อ 2.4 มาเขียนรายละเอียดของแต่ละรายวิชาตามรูปแบบที่กำหนด
1.6 วิพากษ์และบรรณาธิการกิจรายวิชาทวิภาคี พร้อมทั้งปรับแก้ไขให้ถูกต้อง