Page 41 - 8
P. 41
ี
8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาค 35
สำหรับกรอบการเขียนรายละเอียดของแต่ละรายวิชาให้ใช้รูปแบบตามที่กำหนด ส่วน
แนวทางในการเขียนรายละเอียดในแต่ละส่วน ตั้งแต่การกำหนดรหัสวิชา การกำหนดชื่อวิชา การ
กำหนดเวลาที่ใช้ในการฝึกอาชีพและจำนวนหน่วยกิต การเขียนจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา
และคำอธิบายรายวิชา สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน “เอกสารหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ
จัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 2
การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ”
4. นำเสนออนุมัติและรายงานการพัฒนารายวิชาทวิภาคี
เมื่อคณะทำงานร่วมระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการได้กำหนด จัดทำ วิพากษ์
และบรรณาธิการรายละเอียดของรายวิชาทวิภาคีในสาขางานเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์
การใช้หลักสูตร ดังนี้
4.1 นำเสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติรายวิชาทวิภาคี
4.2 รายงานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ
• ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาทวิภาคี
1. ให้ใช้รหัสรายวิชาทวิภาคีตามโครงสร้างหลักสูตรของกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือกหรือ
สาขางานที่กำหนด
ตัวอย่าง 20101-5101 ถึง 20101-5106
หมายถึง รายวิชาทวิภาคีในหลักสูตรระดับ ปวช. (2) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่าง
ยนต์ สาขางานยานยนต์ รายวิชาที่ 1 ถึงรายวิชาที่ 6
2. ให้กำหนดชื่อรายวิชาในแต่ละระดับตามโครงสร้างหลักสูตร โดยใช้ชื่อสาขางานหรือชื่อ
งานที่ปฏิบัติ เช่น
ตัวอย่างที่ 1 กำหนดชื่อวิชาตามชื่อสาขางาน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการจัดแผนการเรียน
การลงทะเบียนเรียนรายวิชา การประเมินผลการเรียนและการบันทึกผลการเรียนในเอกสารการศึกษาได้
เหมือนกันในทุกกลุ่มผู้เรียนสาขางานเดียวกันแต่ไปฝึกอาชีพต่างสถานประกอบการ
20101-5101 ปฏิบัติงานยานยนต์ 1
20101-5102 ปฏิบัติงานยานยนต์ 2
20101-5103 ปฏิบัติงานยานยนต์ 3
20101-5104 ปฏิบัติงานยานยนต์ 4