Page 32 - 10
P. 32
24 10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
3. วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
4. ผู้สำเร็จการศึกษา
นอกจากนี้เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาทั้ง 3 ระดับยังกำหนดว่า “ให้สำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้มีการประเมินและรายงาน
ผลการดำเนินการหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตรที่อยู่ในความ
รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 5 ปี
อนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.
2561 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ข้อ 3 กำหนดว่า “ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการ
ประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให ้
เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานตันสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา
เป็นประจำทุกปี” ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 ประกอบไปด้วย 3
มาตรฐาน 9 ประเด็นการประเมิน โดยจะสังเกตได้ว่าเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการนำ
หลักสูตรไปใช้ ทั้งในเรื่องปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงมาตรฐานการอาชีวศึกษาและประเด็นการประเมิน
มาตรฐาน ประเด็นการประเมิน
มาตรฐานที่ 1 1.1 ด้านความรู้
คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา 1.2 ด้านทักษะและการประยุกต์ใช ้
อาชีวศึกษาที่พึงประสงค ์ 1.3 ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
มาตรฐานที่ 2 2.1 ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา
การจัดการอาชีวศึกษา 2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
2.3 ด้านการบริหารจัดการ
2.4 ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
มาตรฐานที่ 3 3.1 ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3.2 ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย