Page 28 - 10
P. 28

20                                  10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน


                      3. การประเมินความยั่งยืน (Sustainability evaluation : S) เป็นการประเมินความรู้

             ความสามารถของผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตร เกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนางานหรือ
             สร้างองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการติดตามผลของผู้สำเร็จการศึกษาไปอีกประมาณ 1 ปี

                      4. การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation : T) เป็นการ

             ประเมินผลที่เกิดกับผู้เรียนในการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปขยายองค์ความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
             เหมาะสม โดยการประยุกต์แนวคิด ทฤษฎีใหม่ ๆ ไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาได้ หรือนำส่วนหนึ่งขององค์
             ความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรไปใช้ในการบูรณาการการในสถานที่ต่าง ๆ


                        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการประเมินหลักสูตรนั้น จะเป็นการประเมินที่เป็นลักษณะ
             Formative Evaluation มีการประเมินเป็นระยะ ๆ และใช้ผลการประเมินไปปรับปรุงการทำงาน มีการ
             ดำเนินงานตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Deming  Cycle: PDCA :Plan-Do-Check-Act)


             • หลักเกณฑ์ในการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน


                      การประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีหลักเกณฑ์ที่ต้องพิจารณาในการ
             ดำเนินการ ดังนี้

                      1. ต้องมีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร
                      2. ต้องมีการวัดที่เชื่อถือได้ โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
                      3. ต้องมีข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมิน ข้อมูลจะต้องได้มาอย่าง

             ถูกต้อง เชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนได้
                      4. ต้องมีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใด แค่ไหน

                      5. ต้องมีประเด็นของเรื่องที่จะประเมิน ซึ่งควรอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ
                      6. ต้องมีการรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ และการกำหนดเครื่องมือในการ

             ประเมินผล จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
                      7. ต้องมีการวิเคราะห์ผลการประเมินอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และมีความเที่ยงตรง

                      8. ต้องมีวิธีการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนหลากหลายวิธี
                      9. ต้องมีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน

                      10. ต้องมีการนำผลต่าง ๆ ที่ได้จากการประเมินนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งในด้าน
             การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดีและมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ รวมทั้งพัฒนาการจัดการ

             เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33