Page 35 - 2
P. 35
2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 27
จากการที่สังคมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรการศึกษาจึงจำเป็นต้องมี
การพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไป โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษาซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัด
การศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของงานอาชีพ ควรจะต้องมีการนิเทศ
ติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อสำรวจข้อดีแเละข้อบกพร่อง ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ในการ
ใช้หลักสูตรเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุง นอกจากนี้จะต้องเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาสาขาวิชา สาขางาน
และรายวิชาเพิ่มเติมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้ด้วย สำหรับรูปแบบของ
การพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวในการจัดการศึกษานั้น มีแนวคิดหลายรูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนของ UNESCO Model
การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะรูปแบบนี้ ประกอบด้วย
1.1 วงจรการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการ
ประเมินความต้องการจำเป็น (2) ขั้นการออกแบบหลักสูตรฐานสมรรถนะ (3) ขั้นการทดลองและ
ปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ (4) ขั้นการประเมินผลหลักสูตรฐานสมรรถนะ
1.2 วงจรการจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรายวิชาฐานสมรรถนะ
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (5) ขั้นการออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร
รายวิชาฐานสมรรถนะ (6) ขั้นการนิเทศและการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรายวิชา
ฐานสมรรถนะ (7) ขั้นการนำแผนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรายวิชาฐานสมรรถนะไปใช้จริง และ
(8) ขั้นการประเมินผลแผนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรายวิชาฐานสมรรถนะ ดังภาพ
(1) Need Assessment Competency-based
Curriculum Development
(5) Design of Course
Material
Competency-based
Course Development
(4) Curriculum (8) Course (6) Experimentation (2) Design
Evaluation Evaluation Validation
(7) Implementation
(3) Try-out / Improve
ภาพที่ 9 แสดงรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะของ UNESCO