Page 23 - 7
P. 23
14 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา
ขั้นที่ 3 กำหนดชนิดของเครื่องมือในการประเมิน
ผู้สอนต้องพิจารณาว่ากิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดควรใช้เครื่องมือประเมินชนิดใด
เช่น การสอนทฤษฎีต้องใช้การทดสอบความรู้ และเมื่อมีการปฏิบัติงานต้องใช้การทดสอบความสามารถ
ในการปฏิบัติงานซึ่งต้องประกอบไปด้วย กระบวนการที่ได้มาของงาน กิจนิสัยและความใส่ใจในการ
ทำงาน และผลงานที่ได้จากการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้สอนจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ
ที่ใช้ในการประเมิน ดังนี้
1. การทดสอบความรู้
การทดสอบความรู้ใช้แบบทดสอบในการประเมิน ซึ่งแบ่งตามจุดประสงค์การประเมินได้
2 ลักษณะ คือ
1.1 แบบทดสอบที่ครูผู้สอนใช้ทดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ โดยใช้ประเมินความรู้ของ
ี
ผู้เรยนหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยการเรยนรู้ เพื่อวัดความรู้ ความจำและความเข้าใจ
ี
ของผู้เรียน
1.2 แบบทดสอบที่ครูผู้สอนใช้ประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอนทุกหน่วยการเรียนรู้
หรือปลายภาคเรียน เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน แบบทดสอบลักษณะนี้จะออก
์
้
ข้อสอบจากตารางวิเคราะหหลักสูตร โดยแปลงตารางวิเคราะหหลักสูตรใหเป็นตารางวิเคราะหข้อสอบ
์
์
ทั้งนี้ แบบทดสอบปลายภาคเรยนจะต้องเป็น “แบบทดสอบมาตรฐาน” ที่ใช้วัดความสามารถในการนำ
ี
ความรู้ไปประยุกต์ใช้ของผู้เรียน
2. การทดสอบความสามารถ
การทดสอบความสามารถในการฝึกปฏิบัติของผู้เรียน ใช้แบบประเมินความสามารถดังนี้
2.1 ประเมินการปฏิบัติงานด้วยแบบตรวจสอบรายการ
2.2 ประเมินกระบวนการทำงานด้วยแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
2.3 ประเมินกิจนิสัยในการทำงานด้วยแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
2.4 ประเมินความใส่ใจทำงาน (จิตพิสัย) ด้วยแบบมาตราส่วนประมาณค่า
2.5 ประเมินผลงานด้วยแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
ดังนั้น จากตัวอย่างรายวิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี
- แบบทดสอบ
- แบบตรวจสอบรายการ
- แบบมาตราส่วนประมาณค่า