Page 29 - 7
P. 29

20                                                     7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา


                                   ตัวอย่างการเขียนจุดประสงค์การปฏิบัติงาน


                        จุดประสงค์                      จุดประสงค์ตามเกณฑ์/เงื่อนไข
               นำไฟล์ที่ระบุออกมาวางบนหน้าจอ    นำไฟล์ที่ระบุออกมาวางบนหน้าจอให้ปรากฏได้ภายใน 10 วินาท  ี
               เขียนรายการของกฎความปลอดภัย   ระบุรายการของกฎความปลอดภัยในโรงฝึกหัดอย่างถูกต้อง

               ในโรงฝึกหัด                   3 ใน 5 ข้อหลัก
                                             อธ
               อธิบายเหตุผลของการใช้รองเท้าบูท               ิบายเหตุผลของการใช้รองเท้าบูทเพื่อความปลอดภัย
               เพื่อความปลอดภัย              ตามข้อกำหนดของ Bosch


                      4. การประเมินแบบสมรรถนะ (Competency Assessment)

                        การประเมินผลเป็นการรวบรวมหลักฐานผลการเรยนรู้ว่าผู้เรยนมีความก้าวหน้าถึงเกณฑ์
                                                                       ี
                                                               ี
                                                   ี
             หรือระดับที่กำหนดในมาตรฐานหรือตามผลการเรยนรู้ที่กำหนดในหน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย และ
             ตัวชี้วัด เพื่อตัดสินว่าผู้เรียนสำเร็จตามสมรรถนะรายวิชาที่กำหนดหรือไม่ การประเมินผลการจัดหลักสูตร
             แบบฐานสมรรถนะควรทำควบคู่กับการเรียนการสอน โดยวัดทั้งความรู้ ทักษะและการนำไปประยุกต์ใช้
                        การประเมินแบบสมรรถนะเป็นการประเมินที่เน้นการปฏิบัติ (Performance Based

             Assessment) เน้นที่กระบวนการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน แยกสิ่งที่ต้องการประเมินเป็นทักษะ 4 ด้าน
             คือ

                        4.1 ทักษะตามภาระงาน (Task Skills) ความสามารถในการปฏิบัติภาระงานแต่ละชิ้น
                        4.2 ทักษะการจัดการ (Task Management Skills) ความสามารถในการจัดการกับ

             ภาระงานและกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติภายใต้งานนั้น ๆ
                                              ุ
                        4.3 ทักษะในคาดการณ์อปสรรค ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น (Contingency Skills) การ
             ประเมินทักษะใช้ได้ดีโดยกำหนดสถานการณ์จำลอง
                        4.4 ทักษะตามบทบาทและงานที่รับผิดชอบและสภาพแวดล้อม (Job/Role Environment)

             รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่น

                      5. วิธีการประเมินสมรรถนะ
                                                                                 ้
                        5.1 เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) และมีการประเมินใหความสำคัญกับ
             การประเมินแบบย่อย (Formative Assessment) อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามดูความก้าวหน้า วินิจฉัย
                                   ้
             จุดด้อยจุดเด่นของผู้เรียน ใหข้อมูลย้อนกลับและเป็นการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ
             ผู้สอนไปด้วยในขณะเดียวกัน ต้องมีการสอบสรุป (Summative Assessment) เพื่อวัดและตัดสิน
             กระบวนการเรียนรู้ (the end of learning process) ตอนเรียนจบรายวิชา
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34