Page 20 - 10
P. 20
12 10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
• เหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
เนื่องจากการจัดการศกษาในแต่ละหลักสูตรต้องเป็นไปตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่หลักสูตร
ึ
กำหนด รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อคุณภาพมาตรฐานในการจัดการศึกษา จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่
ทำให้ต้องมีการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่
1. ทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรมีอยู่จำกัด ได้แก่ บุคคล งบประมาณ วัสดุ
้
อุปกรณ์ ฯลฯ แต่การดำเนินการจัดการศึกษาใหมีประสิทธิภาพสูงสุดคือการใช้ทรัพยากรใหน้อยที่สุดหรือ
้
คุ้มค่าที่สุดแต่สามารถทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินหลักสูตรเพื่อให้ทราบว่าการ
บริหารจัดการหลักสูตรมีประสิทธิภาพหรือไม่ มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ หากไม่มี
การประเมินหลักสูตรอย่างเป็นระบบแล้ว อาจทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่าและสิ้นเปลืองต่อไป
2. สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน วิทยาการ
ต่าง ๆ มีความก้าวหน้าตลอดเวลา นอกจากนี้ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่ก็เปลี่ยนไป มีการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น จึงต้องมีการประเมิน
หลักสูตรภายหลังจากที่ได้ดำเนินการใช้ไปช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อพัฒนาหลักสูตรใหทันสมัยและสอดคล้องกับ
้
บริบททางสังคมที่เปลี่ยงแปลงไป โดยเฉพาะหลักสูตรที่ถูกใช้มาเป็นระยะเวลานานและไม่มีการกำหนด
ช่วงระยะเวลาตายตัวว่าจะต้องใช้หลักสูตรไปนานเท่าใด ดังนั้นการประเมินหลักสูตรจะนำไปสู่การ
ปรับปรุงหลักสูตร หรืออาจจะนำไปสู่การยกเลิกการใช้หลักสูตรเดิมแล้วพัฒนาหลักสูตรใหม่ขึ้นมาใช้แทน
3. ปัจจัยภายนอกส่งผลให้ต้องมีการประเมินหลักสูตร เนื่องจากการจัดการศึกษาของ
ทุกหลักสูตรเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งด้านความต้องการของตลาดแรงงานและการประกอบ
อาชีพ ผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาตรฐานขององค์กรวิชาชีพ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ตลอดจน
ทิศทางการจัดการศึกษาและการทดสอบในระดับนานาชาติ ดังนั้นหลักสูตรจึงต้องมีการประเมินและ
ปรับปรุงให้สอดคล้องกับปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะและ
สมรรถนะตรงตามความต้องการและมาตรฐานที่กำหนด
4. ความต้องการข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งตามหลักวิชาการ
แล้วการปรับปรุงหลักสูตรจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีผลการประเมินที่ถูกต้อง หากไม่มีผลการประเมินจะ
ไม่สามารถตัดสินใจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหรือยกเลิกการใช้หลักสูตรได้ จึงต้องดำเนินการ
ประเมินหลักสูตรโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและ
เชิงคุณภาพจากผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน ผู้เรียน ชุมชน ผู้ใช้ผลผลิตและผู้มีส่วนได้-
ส่วนเสีย เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินการต่อไป