Page 22 - 10
P. 22
14 10 การประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
3. เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีคุณภาพตรงตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หรือไม่ โดยยึดจุดประสงค์สาขาวิชา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพสาขาวิชาและสาขางานของหลักสูตร
เป็นหลัก กระบวนการประเมินจะมีความเป็นทางการมากกว่าการประเมินระหว่างการนำหลักสูตรไปใช้
มีการวางแผนการประเมินอย่างเป็นระบบ มีเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ผ่านกระบวนการสร้างและ
ตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างดี มีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน การประเมินส่วนนี้จะดำเนินการเมื่อสิ้นสุด
ภาคการศึกษาหรือสิ้นปีการศึกษา
ทั้งนี้ การประเมินว่าผู้เรียนมีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ มีข้อพึง
ระวังเนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
พัฒนาหลักสูตรอาจล้าสมัย โดยเฉพาะจุดประสงค์สาขาวิชา มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชา
และสาขางาน รวมทั้งรายละเอียดของรายวิชา ดังนั้นการที่ผู้เรียนมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ที่กำหนดไว้ในอดีต อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนในปัจจุบัน แต่ถ้าหากวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
และเนื้อหาสาระของสาขาวิชา สาขางานและรายวิชาใดยังมีความทันสมัยอยู่ จึงจะมั่นใจได้ว่าผู้เรียน
มีคุณภาพอย่างแท้จริง
ี
4. เพื่อตรวจสอบว่าหลักสูตรสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรยนและสังคมได้หรือไม่
เพียงใด เนื่องจากหลักสูตรที่ดีจะต้องมีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เช่น เด็กยุคใหม่
ชอบการเรียนรู้จากสื่อและเทคโนโลยี ชอบการปฏิบัติจริงมากกว่าการฟังบรรยาย ชอบแสดงความคิดเหน
็
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการรับฟังคำสั่งจากผู้สอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องสามารถผลิตผู้สำเร็จ
การศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงตามความต้องการของสังคมอกด้วย
ี
เช่น ขณะนี้สังคมโลกเป็นสังคมธุรกิจ ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพในการใช้ภาษาเพื่อ
การสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือมีความคิดสร้างสรรค์
ั
คุณภาพของเอกสารหลกสูตร
ั
การตอบสนองผู้เรียน-สังคม การประเมินหลกสูตรและ กระบวนการใช้หลกสูตร
ั
การจัดการเรียนการสอน
คุณภาพของผู้เรียน
แผนภาพที่ 2 แสดงจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน